Google Classroom คืออะไร ?
Google Classroom เป็นหนึ่งใน Google Apps ที่รวบรวมบริการที่สําคัญต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสนับสนุนธุรกิจ โรงเรียน และสถาบันต่างๆ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google ได้อย่างหลากหลาย
“Google Classroom ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ครูสร้างและลดกระดาษในการจัดเก็บ รวมทั้งคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น ความสามารถในการสำเนาเอกสาร Google ให้กับนักเรียนแต่ละคน นอกจากนี้ยังสร้างโฟลเดอร์สำหรับแต่ละบุคคลที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนสามารถติดตามงาน ที่ได้จากการกำหนดบนหน้าและเริ่มต้นการทำงาน ด้วยเพียงไม่กี่คลิก ครูสามารถติดตามการทำงานว่าใครยังไม่เสร็จให้ตรงตามเวลา ยังสามารถแสดงความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ และผลการเรียนในชั้นเรียน”
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานของ Classroom

วิธีใช้งาน googoole Classroom
การสร้างห้องเรียน เมื่อเข้าไปที่ url: classroom.google.com และได้ลงทะเบียนด้วยอีเมล์ของ Googleแล้ว จะสามารถเข้า สู่หน้าแรกได้ดังรูป ต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อสังเกตจะพบเครื่องหมายบวกด้านบนขวาของหน้าจอ และเมื่อคลิกเข้าไปจะ พบข้อความ 2 แบบคือ Join class ซึ่งมีไว้สำหรับนักศึกษา ดังนั้นในส่วนการสอนของอาจารย์เราต้องคลิกที่คำว่า Create class
เมื่อคลิกแล้ว จะปรากฏหน้าต่างดังรูป ซึ่งเป็นส่วนที่เราจะต้องเติมรายชื่อวิชาที่เราสอน พร้อมทั้ง section ที่สอน ซึ่งในตัวอย่างเป็นรายวิชา Chemical engineering thermodynamics โดยเป็น Section ที่ 1 ซึ่งเมื่อเติมข้อมูลที่จำเป็นลงไปหมดแล้ว ก็ให้กดที่ปุ่ม Create
เมื่อกดปุ่ม Create ดังรูป แล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป ซึ่งถือเป็นห้องเรียนของเรา โดยเราสามารถเปลี่ยน Theme หรือภาพได้โดยการคลิกที่คำว่า select theme หรือ upload photo ขณะนี้ถือว่าห้องเรียนของ เราได้ถูกสร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว
การนำนักเรียนเข้าสู่ห้องเรียน ในหน้าแรกของห้องเรียนที่เราสร้างแล้ว เมื่อสังเกตที่มุมซ้ายด้านล่าง จะพบช่องที่เขียนว่า Class code ดังรูป ซึ่งรหัสนี้สามารถทำให้นักศึกษาสามารถเข้ามาร่วมในห้องเรียนนี้ได
เมื่อจะเริ่มนำนักศึกษาเข้าห้องเรียนแล้ว ก็ต้องคลิกที่ปุ่ม Students ที่ปรากฏอยู่ในหน้าแรก ของห้องเรียนก่อน ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะพบหน้าจอดังรูปที่ 6 จะพบว่าในหน้าจอดังกล่าวจะปรากฏข้อความให้เชิญนักศึกษา (invite) หรือส่งรหัส uuz9jvt ไปให้ ซึ่งในที่นี้จะแนะนำวิธีการเชิญโดยการคลิกที่ปุ่ม invite ดังรูป
เมื่อคลิกปุ่ม invite แล้ว จะพบหน้าจอดังรูป ซึ่งในฐานะอาจารย์ผู้สอนเราต้องเลือก inviteนักศึกษา เข้าห้องเรียนโดยการค้นหาจากรหัสนักศึกษา ดังตัวอย่างที่แสดง จะเป็นว่าจะมีเมล์ของนักศึกษาชื่อ ฐิติญาขึ้นมา 2 ชื่อ เราจะต้องเลือกเฉพาะชื่อที่เป็น @mail.rmutk.ac.th เท่านั้น เนื่องจากเป็นโดเมน ที่ได้รับการเชื่อมต่อกับ ระบบของ Google
หลังจากเลือกนักศึกษาที่ต้องการเชิญได้แล้ว ให้กดไปที่ปุ่ม invite students จะปรากฎหน้าจอดังรูป ซึ่งจะเห็นว่ามีคำว่า invited ปรากฏอยู่หลังชื่อของนางสาวฐิติญา หมายความว่านักศึกษายังไม่ได้ตอบรับเพื่อเข้า ห้องเรียน จนกระทั่งนักศึกษาเข้าระบบเมล์ของตนเอง และได้ตอบรับการเชิญค าว่า invited ก็จะหายไปโดย อัติโนมัติ
หลังจากที่นักศึกษาทั้งหมดตอบรับเข้ามาในห้องเรียนของเรา นักศึกษาทั้งหมดจะปรากฏในหน้าจอ ดังรูป ซึ่งเป็นช่องทางที่เราสามารถใช้ติดต่อนักศึกษาทางเมล์ได้ โดยเลือกส่งเป็นรายบุคคลหรือส่งเป็นกลุ่มก็ได้
เริ่มการเรียน เมื่ออาจารย์ผู้สอนจะเริ่มการสอน ให้สังเกตเครื่องหมายบวกที่ปรากฏบนด้านขวาของหน้าจอ ดังรูป เมื่อคลิกปุ่มดังกล่าวจะปรากฎแนวทางให้เลือก 4 แนวทางคือ สร้างประกาศ (Announcement) สร้างงาน มอบหมาย (Assignment) สร้างคำถาม (Question) และนำสิ่งที่เคยส่งให้นักศึกษาทำมาแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง (Reuse post)
ตัวอย่าง
อาจารย์จะลองสร้างประกาศแก่นักศึกษาก็สามารถคลิกปุ่ม Announcement create จะปรากฎหน้าจอดังรูปที่ 11 จากนั้นเราสามารถพิมพ์ข้อความลงไปในช่องว่างได้ หรือจะเลือกเป็นการส่งภาพ หรือ แชร์ไฟล์จากGoogle drive หรือแชร์วีดิโอจาก Youtube หรือลิงค์ต่างๆ ก็สามารถท าได้โดยทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อ ด าเนินการเสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม post ก็ถือเป็นเสร็จเรียบร้อย โดยในแต่ละการ post นักศึกษาสามารถเข้ามา แสดงความคิดเห็นหรือสอบถามได้ในกระทู้นั้นๆ
การสร้างกระทู้ดังกล่าวในลักษณะต่างๆ จะมีประโยชน์มากต่อการเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความ ตื่นตัวต่อการเรียน โดยนักศึกษาสามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามในห้องผ่านทางกระทู้ดังกล่าวเลยก็ได้ หรือสามารถอภิปรายหัวข้อต่างๆ ในเวลาเรียนได้เช่นกัน ดังเช่นรูป นี้จะเป็นตัวอย่างของการส่งงานมอบหมายให้ นักศึกษาทำ ซึ่งในกรณีนี้สามารถกำหนดเวลาให้นศ.ส่งงานได้ ดังจะเห็นจากคำว่า Done หมายถึงจำนวนนศ.ที่ได้ ส่งงานแล้ว ส่วนคำว่า Not done แปลว่ายังไม่ได้ส่ง นอกจากนี้หากนักศึกษาส่งงานล่าช้าระบบก็สามารถแจ้ง อาจารย์ผู้สอนได้อีกด้วย
การใช้กระทู้ต่างๆ ในการพูดคุยกับนักศึกษา จะส่งผลต่อความสนใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้นเนื่องจากนักศึกษาในปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้สื่อออนไลน์ตลอดเวลาการนำบทเรียนมาผนวกกับสื่อออนไลน์จึง ช่วยส่งเสริมแนวทางด้านนี้ได้ค่อนข้างมาก ดังตัวอย่างในรูปที่ 13 จะพบว่า กระทู้คำถามที่อาจารย์ผู้สอนตั้งมาชวนนักศึกษาคิดตาม จะมีนักศึกษาเข้ามาตอบและหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาแบ่งปันมากมาย
ประโยชน์ต่อการใช้งาน Google Classroom
เตรียมการได้ง่าย
ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครูเดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education
ประหยัดเวลา
กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน
ช่วยจัดระเบียบนักเรียน
สามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
สื่อสารกันได้ดีขึ้น
Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้
ประหยัดและปลอดภัย
Google Classroom ไม่มีโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน
ใช้ได้ทุกอุปกรณ์
สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์
ขอขอบคุณ
ผู้จัดทำ นางสาวจุไรรัตน์ จุรณทรรศน์ 58561802088
นายพีระพงค์ สุขขี 58561802085
ที่มา : www.it24hrs.com/2012/google-apps-for-educa-tion-th
http://tonmayteacher.blogspot.com/2016/07/googleclassroom-google-classroom-google.html