Google Classroom คืออะไร ?

 

Google Classroom เป็นหนึ่งใน Google Apps ที่รวบรวมบริการที่สําคัญต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสนับสนุนธุรกิจ  โรงเรียน และสถาบันต่างๆ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google ได้อย่างหลากหลาย

          “Google Classroom ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ครูสร้างและลดกระดาษในการจัดเก็บ   รวมทั้งคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดเวลา เช่น ความสามารถในการสำเนาเอกสาร Google ให้กับนักเรียนแต่ละคน นอกจากนี้ยังสร้างโฟลเดอร์สำหรับแต่ละบุคคลที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนสามารถติดตามงาน ที่ได้จากการกำหนดบนหน้าและเริ่มต้นการทำงาน ด้วยเพียงไม่กี่คลิก ครูสามารถติดตามการทำงานว่าใครยังไม่เสร็จให้ตรงตามเวลา ยังสามารถแสดงความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ และผลการเรียนในชั้นเรียน”

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานของ Classroom

          Classroom  ผสานรวม Google เอกสาร,ไดรฟ์และ gmail ไว้ด้วยกัน  เพื่อให้ครูสามารถสร้างและรวบรวมงานโดยไม่สิ้นเปลืองกระดาษ  ภายใน Classroom ครูสามารถสร้างงาน  ใช้งานนั้นในชั้นเรียนต่างๆ ได้  และเลือกว่าจะให้นักเรียนทำอย่างไร (เช่น  นักเรียนแต่ละคนจะรับสำเนาของตนเองหรือนักเรียนทุกคนจะทำงานในสำเนาเดียวกัน)  ครูสามารถติดตามว่านักเรียนคนใดทำงานเสร็จแล้วบ้าง  และใครยีงทำงานไม่เสร็จ  ตลอดจนแสดงความคิดเห็นกับนักเรียนแต่ละคนได้  ดังรูป ตัวอย่างการทำงานระหว่างครูและนักเรียน

วิธีใช้งาน googoole Classroom

         การสร้างห้องเรียน เมื่อเข้าไปที่ url: classroom.google.com และได้ลงทะเบียนด้วยอีเมล์ของ Googleแล้ว จะสามารถเข้า สู่หน้าแรกได้ดังรูป ต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อสังเกตจะพบเครื่องหมายบวกด้านบนขวาของหน้าจอ และเมื่อคลิกเข้าไปจะ พบข้อความ 2 แบบคือ Join class ซึ่งมีไว้สำหรับนักศึกษา ดังนั้นในส่วนการสอนของอาจารย์เราต้องคลิกที่คำว่า Create class

 

          เมื่อคลิกแล้ว จะปรากฏหน้าต่างดังรูป ซึ่งเป็นส่วนที่เราจะต้องเติมรายชื่อวิชาที่เราสอน พร้อมทั้ง section ที่สอน ซึ่งในตัวอย่างเป็นรายวิชา Chemical engineering thermodynamics   โดยเป็น Section ที่ ซึ่งเมื่อเติมข้อมูลที่จำเป็นลงไปหมดแล้ว ก็ให้กดที่ปุ่ม Create

 

 

          เมื่อกดปุ่ม Create ดังรูป แล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป ซึ่งถือเป็นห้องเรียนของเรา โดยเราสามารถเปลี่ยน Theme หรือภาพได้โดยการคลิกที่คำว่า   select theme  หรือ upload photo  ขณะนี้ถือว่าห้องเรียนของ เราได้ถูกสร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว

 

 

         การนำนักเรียนเข้าสู่ห้องเรียน ในหน้าแรกของห้องเรียนที่เราสร้างแล้ว เมื่อสังเกตที่มุมซ้ายด้านล่าง จะพบช่องที่เขียนว่า Class code ดังรูป ซึ่งรหัสนี้สามารถทำให้นักศึกษาสามารถเข้ามาร่วมในห้องเรียนนี้ได

         เมื่อจะเริ่มนำนักศึกษาเข้าห้องเรียนแล้ว ก็ต้องคลิกที่ปุ่ม Students ที่ปรากฏอยู่ในหน้าแรก ของห้องเรียนก่อน ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะพบหน้าจอดังรูปที่ 6 จะพบว่าในหน้าจอดังกล่าวจะปรากฏข้อความให้เชิญนักศึกษา (invite) หรือส่งรหัส uuz9jvt ไปให้ ซึ่งในที่นี้จะแนะนำวิธีการเชิญโดยการคลิกที่ปุ่ม invite ดังรูป 

            เมื่อคลิกปุ่ม invite แล้ว จะพบหน้าจอดังรูป ซึ่งในฐานะอาจารย์ผู้สอนเราต้องเลือก inviteนักศึกษา เข้าห้องเรียนโดยการค้นหาจากรหัสนักศึกษา ดังตัวอย่างที่แสดง จะเป็นว่าจะมีเมล์ของนักศึกษาชื่อ ฐิติญาขึ้นมา ชื่อ เราจะต้องเลือกเฉพาะชื่อที่เป็น @mail.rmutk.ac.th เท่านั้น เนื่องจากเป็นโดเมน ที่ได้รับการเชื่อมต่อกับ ระบบของ Google

      หลังจากเลือกนักศึกษาที่ต้องการเชิญได้แล้ว ให้กดไปที่ปุ่ม invite students จะปรากฎหน้าจอดังรูป ซึ่งจะเห็นว่ามีคำว่า  invited  ปรากฏอยู่หลังชื่อของนางสาวฐิติญา หมายความว่านักศึกษายังไม่ได้ตอบรับเพื่อเข้า ห้องเรียน จนกระทั่งนักศึกษาเข้าระบบเมล์ของตนเอง และได้ตอบรับการเชิญค าว่า invited ก็จะหายไปโดย อัติโนมัติ

            หลังจากที่นักศึกษาทั้งหมดตอบรับเข้ามาในห้องเรียนของเรา นักศึกษาทั้งหมดจะปรากฏในหน้าจอ ดังรูป  ซึ่งเป็นช่องทางที่เราสามารถใช้ติดต่อนักศึกษาทางเมล์ได้ โดยเลือกส่งเป็นรายบุคคลหรือส่งเป็นกลุ่มก็ได้

 

      เริ่มการเรียน เมื่ออาจารย์ผู้สอนจะเริ่มการสอน ให้สังเกตเครื่องหมายบวกที่ปรากฏบนด้านขวาของหน้าจอ ดังรูป เมื่อคลิกปุ่มดังกล่าวจะปรากฎแนวทางให้เลือก แนวทางคือ สร้างประกาศ (Announcement) สร้างงาน มอบหมาย (Assignment) สร้างคำถาม (Question) และนำสิ่งที่เคยส่งให้นักศึกษาทำมาแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง (Reuse post)

ตัวอย่าง

        อาจารย์จะลองสร้างประกาศแก่นักศึกษาก็สามารถคลิกปุ่ม  Announcement create  จะปรากฎหน้าจอดังรูปที่ 11 จากนั้นเราสามารถพิมพ์ข้อความลงไปในช่องว่างได้ หรือจะเลือกเป็นการส่งภาพ หรือ แชร์ไฟล์จากGoogle drive หรือแชร์วีดิโอจาก Youtube หรือลิงค์ต่างๆ ก็สามารถท าได้โดยทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อ ด าเนินการเสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม post ก็ถือเป็นเสร็จเรียบร้อย โดยในแต่ละการ post นักศึกษาสามารถเข้ามา แสดงความคิดเห็นหรือสอบถามได้ในกระทู้นั้นๆ

 

การสร้างกระทู้ดังกล่าวในลักษณะต่างๆ จะมีประโยชน์มากต่อการเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความ ตื่นตัวต่อการเรียน โดยนักศึกษาสามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามในห้องผ่านทางกระทู้ดังกล่าวเลยก็ได้ หรือสามารถอภิปรายหัวข้อต่างๆ ในเวลาเรียนได้เช่นกัน ดังเช่นรูป นี้จะเป็นตัวอย่างของการส่งงานมอบหมายให้ นักศึกษาทำ ซึ่งในกรณีนี้สามารถกำหนดเวลาให้นศ.ส่งงานได้ ดังจะเห็นจากคำว่า   Done   หมายถึงจำนวนนศ.ที่ได้ ส่งงานแล้ว    ส่วนคำว่า Not done แปลว่ายังไม่ได้ส่ง   นอกจากนี้หากนักศึกษาส่งงานล่าช้าระบบก็สามารถแจ้ง อาจารย์ผู้สอนได้อีกด้วย

 

     การใช้กระทู้ต่างๆ ในการพูดคุยกับนักศึกษา จะส่งผลต่อความสนใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้นเนื่องจากนักศึกษาในปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้สื่อออนไลน์ตลอดเวลาการนำบทเรียนมาผนวกกับสื่อออนไลน์จึง ช่วยส่งเสริมแนวทางด้านนี้ได้ค่อนข้างมาก  ดังตัวอย่างในรูปที่ 13  จะพบว่า กระทู้คำถามที่อาจารย์ผู้สอนตั้งมาชวนนักศึกษาคิดตาม จะมีนักศึกษาเข้ามาตอบและหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาแบ่งปันมากมาย

ประโยชน์ต่อการใช้งาน Google Classroom

เตรียมการได้ง่าย

ครูสามารถเพิ่มนักเรียนได้โดยตรงหรือแชร์รหัสเพื่อให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้ การตั้งค่าใช้เวลาเพียงครูเดียว ผ่านบัญชีอีเมล์ Google Apps for Education
ประหยัดเวลา

กระบวนการมอบหมายงานเรียบง่าย ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ทำให้ครูสร้าง ตรวจ และให้เกรดงานได้ในที่เดียวกัน

ช่วยจัดระเบียบนักเรียน
สามารถดูงานทั้งหมดของตนเองได้ในหน้างาน และเนื้อหาสำหรับชั้นเรียนทั้งหมดจะจัดเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ภายใน Google ไดรฟ์โดยอัตโนมัติ
สื่อสารกันได้ดีขึ้น

Classroom ทำให้ครูส่งประกาศและเริ่มการพูดคุยในชั้นเรียนได้ทันที นักเรียนสามารถแชร์แหล่งข้อมูลกันหรือตอบคำถามในสตรีมได้

ประหยัดและปลอดภัย
Google Classroom ไม่มีโฆษณา ไม่ใช้เนื้อหาหรือข้อมูลของนักเรียนในการโฆษณา และให้บริการฟรีสำหรับโรงเรียน
ใช้ได้ทุกอุปกรณ์
สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์

ขอขอบคุณ
ผู้จัดทำ  นางสาวจุไรรัตน์  จุรณทรรศน์    58561802088
นายพีระพงค์    สุขขี                   58561802085

ที่มา : www.it24hrs.com/2012/google-apps-for-educa-tion-th

           http://tonmayteacher.blogspot.com/2016/07/googleclassroom-google-classroom-google.html